2552-06-30

Methods

Method ใน REST SoapUI นั้น เหมือนกันกับ Method ใน WADL ที่ครอบคลุมใน Child ถึง REST Resource เราสามารถสร้าง Method ได้ในคำสั่ง "New Method" ใน SoapUI



หน้าต่างตอนสร้าง Method


REST Method Viewer

หน้าต่างแสดง REST Method เหมือนดังรูปด้านล่าง

เมื่อคลิกขวาที่ Method ในหน้าต่าง Navigator จะแสดงคำสั่งดังต่อไปนี้

  • Show Method Viewer - เปิดหน้าต่าง Method Viewer(มีผลเหมือนดับเบิ้ลคลิก)
  • New Request - สร้าง Request สำหรับ Method ขึ้นมาใหม่
  • Clone Method - ก๊อปปี้ Method รวมไปถึง Children
  • Rename - เปลี่ยนขื่อ Method
  • Delete - ลบ Method
  • Online Help - แสดงคำแนะนำในอินเตอร์เน็ต

2552-06-28

REST Resources

ในหัวข้อนี้ผมจะขออธิบายเกี่ยวกับ Rest Resources ที่กล่าวทิ้งไว้ในหัวข้อ REST Service นะครับ

REST Resources ก็คือ item ย่อยที่สามารถทำงานได้ของ REST Service นะครับและประกอบด้วย Resource ของ item ย่อย หรือ method นั้นๆ ส่วน Resource นั้นเราได้สร้างขึ้นมาในตอนต้นที่เราได้ทำการสร้าง REST Service ขึ้นมาแล้วนะครับ


และส่วนของ New REST Resource จะมีส่วนประกอบดังนี้นะครับ
  • Resource Name --> ชื่อของ resource
  • Resource Path/Endpoint--> ส่วนของ Resource หรือ ส่วนของ endpoint ทั้งหมด
  • Extract Params --> เลือก extract parameter
  • Parameters --> ตารางส่วนประกอบของ Extract Parameters ซึ่งสามารถเพิ่ม/ลดได้
  • Create Reques --> เลือกเพื่ิอสร้าง และ เปิด Request
และหลังจากที่เรากรอกรายละเอียดทั้งหมดแล้วกดที่ปุ่ม OK

เราก็จะได้หน้าตาของ Resource view ของ REST Service เป็นแบบนี้นะครับ (ในตัวอย่างนี้ผมยกตัวอย่างREST Service ของ Google นะครับ)





2552-06-26

Parameters and Representations

ในส่วนของ Parameters and Representations นั้นคือส่วนที่จะจัดการทางด้าน Resource และ Child Resource ผ่านทางตาราง Parameters ดังต่อไปนี้




ความหมายของคำสั่ง(ซ้าย-ขวา)

  • Add - เพิ่มค่า Parameter
  • Delete - ลบค่า Parameter
  • Clear - เคลียร์ค่าใน Parameter ที่เลือกไว้
  • Move down - เลื่อน Parameter ที่เลือกไว้ลงด้านล่าง
  • Move up - เลื่อน Parameter ที่เลือกขึ้นด้านบน
  • Update from URL - อัพเดทค่าข้อมูลแ Parameter จาก URL
นอกจากนี้ทุกๆ parameter ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่สามารถตั้งค่าได้อีก





  • Required : สำหรับ Parameter ที่ต้องการตัวแปร
  • Default : ตั้งค่าปริยายของตัวแปร
  • Type : ประเภทของ XML schema ในค่าของ Parameter
  • Options : รายชื่อที่สามารถใส่ได้ใน Parameter
  • Description : รายละเอียดของ Parameter
  • Disable Encoding : ปิดการ Encoding ของ Parameter นั้นๆ เมื่อมีการส่ง
ส่วนสุดท้ายคือส่วน Representation คือส่วนที่แสดงการตอบสนองของทางด้าน Parameter ด้านบน




ประกอบไปด้วย
  • Type : ประเภทของ Representation ค่าตอบสนองจะเป็น RESPONSE และ FAULT
  • Media-Type : ประเภท media ของ Representation
  • Status Codes : ค่า Status ของ representation
  • QName : ค่าตัวเลือกของ QName จะตอบสนองใน XML Schema ที่อยู่ใน WSDL

*เราสามารถ เพิ่มหรือลบ ค่า Representation ได้ตรงปุ่ม เพิ่ม/ลบ ด้านบน
**เราสามารถ คลิกที่ Auto-Create เพื่อให้ SoapUI ทำการสร้าง Represent ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ

2552-06-24

REST Services

ใน version ก่อนๆของ soapUI นั้นไม่มีในส่วนของ REST Service เข้ามาเกี่ยวข้องนะครับ ดังนั้น REST Service จึงเป็น function ใหม่ที่ึพึ่งเพิ่มเข้ามาในโปรแกรม soapUI ครับ

เราจะมาดูกันว่า REST Service นั้นมีอะไรบ้าง
ในส่วนของ REST Service นั้นก็จะมี
  • Service
  • Parameters and Representations
  • Resources
  • Methods
  • Requests
  • WADL and XSD inference
  • Getting Started with Schema Inference
ซึ่งในแต่ละตัวก็จะีมีการทำงานที่แตกต่างแต่สอดคล้องกัน และเราจะมาดูขั้นตอนการสร้างและหน้าตาของ REST Service กันเลยนะครับ


เริ่มจากการสร้าง REST Service ขึ้นมาก่อนนะครับโดยการคลิกขวาที่ ProjectName แล้วเลือก New REST Service นะครับ


จากนั้น จะมี window popup ขึ้นมานะครับ ซึ่งในส่วนนี้จะมีไว้เพื่อให้เรากรอกรายละเีอีดของ REST Service ที่เราเพิ่มเข้ามาครับ


แล้วพอเรากรอกรายละเอียดเสร็จก็ทำการคลิกปุ่ม OK เพื่อทำขึ้นตอนต่อไป


ในส่วนนี้จะเป็นส่วนของ REST Resource นะครับซึ่งเรื่องนี้เราจะลงรายละเีอียดในหัวข้อของ REST Resource นะครับ ซึ่งตอนนี้ให้ทำการกรอกรายละเอียดไปก่อน หลังจากนั้น ให้คลิกที่ปุ่ม OK อีกครั้ง


ส่วนนี้ก็จะเป็นส่วนของหน้าตา REST Service ที่เราพึ่งทำการเพิ่มเข้ามาใน Project ของเรานะครั้ง

เป็นอย่างไรบ้างครับ ไม่อยากเลยใช่ไหมครับ

2552-06-22

Message Inspectors

คือส่วนที่เอาไว้โชว์ข้อมูลสำคัญๆแบบย่อๆ เพื่อให้เราเห็นข้อมูลได้ในจุดเดียว


Message Inspectors ทีใช้ได้มีดังต่อไปนี้

XSD - แสดงข้อมูล XML Schema ของข้อมูลที่เลือก


Table - แสดงข้อมูลของ Node siblings และ node children ในรูปแบบของตาราง

XML - แสดงข้อมูล XML fracment และ ข้อมูล Xpath ของ node ปัจจุบัน


Doc - แสดงข้อมูลเอกสาร Schema ในส่วนนั้นๆ(ถ้ามี)

Coverage - แสดง Message Coverage ของข้อมูลนั้นๆ


2552-06-20

Outline Editor

ในหัวข้อนี้จะพูดถึงส่วนของ Outline Editor นะครับ ซึ่งลักษณะของการแสดงผลหรือการทำงานของ Outline Editor นั้นจะแสดงผลในลักษณะของ Tree นะครับซึ่งเราจะสังเกตได้จากรูปนะครับ



และในส่วนของ Outline Editor นี้ก็จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักนะครับ ก็จะมี
  • ส่วนที่ 1 : เป็นส่วนของ โครงสร้างของ Project นะครับ
  • ส่วนที่ 2 : เป็นส่วนของ node value ของโครงสร้างนะครับ
  • ส่วนที่ 3 : จะเป็นส่วนที่แสดงถึงประเภทของ โครงสร้างนะครับจะไม่สามารถแก้ไขได้

2552-06-18

Form Editor

สำหรับตัวนี้นะครับ จะเป็นตัวที่ช่วยให้เราทำงานได้เร็วขึ้นมา พอสมควรทีเดียว เราแทบไม่จำเป็นต้องไปยุ่งกับตัว XML เลยทีเดียว ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปด้านล่างนะครับ ผมใช้วอย่างการเช็คราคาน้ำมันของทางเวป ปตท. โดยผ่านการใช้ Form Editor ครับ


หน้าจอของ Form Editor ของ ปตท.
ทำการเช็คตัวค่าตัวอักษร


ทำการตรวจสอบข้อมูล

2552-06-16

Working with SOAP Requests

ในหัวข้อนี้คือการทำงานในส่วนของ Request นะครับ ซึ่งในส่วนนี้ก็จะประกอบด้วย

ซึ่งแต่ละตัวก็จะมีความสำคัญต่างกันนะครับ
  • Show Request Editor --> แสดงในส่วนของ Editor Request
  • Add to TestCase --> เพิ่ม TestCase ให้กับ Project
  • Add to MockService -->เพิ่ม MockService ให้กับ Project
  • Add as MockResponse Step -->เพิ่ม MockResponse Step ให้กับ Project
  • Copy to TestRequests --> เป็นการ copy TestRequest
  • Clone Request --> เป็นการดึงเอาข้อมูลทั้งหมดมา
  • Rename --> เป็นการเปลี่ยนชื่อของ Request
  • Delete --> การลบ Requset
  • Online Help --> การเปิดตัวช่วย online หากติดปัญหาใดๆ
จากนั้นก็จะมีส่วน Tab ด้านบน

ซึ่งประกอบด้วย
  • Submit --> เป็นการตอบตกลง Request
  • Add to TestCase --> เป็น function ในการเพิ่ม TestCase
  • Add as MockResponse Step -->เป็น function ในการเพิ่ม MockResponse
  • Add to MockService -->เป็น function ในการเพิ่ม MockService
  • Recreate Request --> เป็นการสร้าง Request ขึ้นมาใหม่โดยลบสิ่งต่างๆที่ทำลงไปออกทั้งหมด
  • Create Empty --> เป็นการคืนค่าทุกอย่างที่กำหนดไว้เป็น null ทั้งหมด
  • Cancel Request --> คือการยกเลิกค่า Request ที่ส่งไป
  • Tab Layout --> คือช่องที่แสดงส่วนของ endpoint สามารถ แก้ไข / เพิ่ม / ลบ ได้
  • Online Help --> การเปิดตัวช่วย online หากติดปัญหาใดๆ
และใน Tab ด้านล่างก็ประกอบด้วย
  • Aut

  • Headers

  • Attchments

  • WS-A

และส่วนต่อไปนี้จะเป็นส่วนของหน้าตาของ Request ที่ผมได้ทำการเรียกขึ้นมานะครับ

ซึ่งส่วนที่ 1 ก็นะเป็นส่วนของการ Input ค่าเข้าไปให้กับ Request form นะครับ และส่วนที่ 2 ก็จะเป็นส่วนของ Output ที่ได้ออกมา ซึ่งทั้งสองส่วนนี้มี form ให้เลือกอยู่ 4 แบบนะครับว่าจะแสดงค่าเป็นแบบไหน และ Form ที่ให้เลือกก็จะมี
  • แบบ Form
  • แบบ Outline
  • แบบ Raw
  • แบบ XML

ซึ่งการทำงานกับ Request ก็มีเพียงเท่านี้นะครับ

2552-06-14

WSDL Operations

ครั้งนี้จะพูดถึงเรื่อง ที่เจาะจงลงไปจากตัว WSDL Interface นะครับ นั่นคือ ตัว Operations ของมันนั่นเอง

WSDL Operations

เมื่อเราได้เพิ่มข้อมูลลงไปในโปรแกรมของเราแล้ว สิ่งที่แสดงขึ้นมาในช่อง Navigator ก็คือตัว Request ของ ไฟล์ WSDL นั้นๆ ซึ่งมีคำสั่งให้เราใช้มากมาย คือ


  • Add to mock service - เพิ่ม Mock Service เข้าไปใน Nevigator จะมีชื่อว่า MockServices
  • New Request - ทำการสร้าง Request เพิ่มเติมจากเดิม
  • Relabel - เปลี่ยนชื่อของ Operation นั้นๆเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
  • Online helps - แสดงการช่วยเหลือจากอินเตอร์เน็ต
Operation Details Tab
ส่วนนี้จะเป็นคำอธิบายที่อยู่ด้านล่างของส่วน Navigator โดยผมจะอธิบายไล่ตั้งแต่ต้นให้นะครับ
  • Description - ในส่วนนี้เราสามารถเพิ่มคำอธิบายได้ตามใจชอบ เพื่อใช้เป็นคำอธิบายเพิ่มเติมได้
  • SOAPAction(ไม่สามารถแก้ไขได้) - เป็นส่วนอธิบายชื่อและที่อยู่ของ Operation ที่เราทำ
  • Operation(ไม่สามารถแก้ไขได้) - ชื่อของ Operation
  • Style(ไม่สามารถแก้ไขได้) - แสดงว่าเป็น Document หรือว่าเป็น RPC
  • Type(ไม่สามารถแก้ไขได้) - แสดงการทำงานของ WSDL นั้นๆ
  • Input(ไม่สามารถแก้ไขได้) - ส่วนที่จะแสดง Input message ของ operation นั้นๆ(อาจจะไม่มีก็ได้)
  • Output(ไม่สามารถแก้ไขได้) - ส่วนที่จะแสดง Output message ของ operation นั้นๆ(อาจจะไม่มีก็ได้)
  • Sends Attachments(ไม่สามารถแก้ไขได้) - ส่วนแสดงของสัญญาณใน Operation นั้นๆที่รับได้
  • Receives Attachment(ไม่สามารถแก้ไขได้) - ส่วนแสดงของสัญญาณใน Operation นั้นๆที่ส่งได้
  • WS-A Anonymous - ส่วนระบุค่าของ WS Addressing Anonymous ที่อยู่ใน WSDL binding specification

2552-06-12

WSDL Refactoring

ในส่วนของ WSDL Refactoring นี้ก็จะเป็นส่วนของการ Update ข้อมูลของ ตัว WSDL นะครับโดยเราจะสามารถแก้ไข หรือ Updata ข้อมูลใหม่ๆลงไปได้ ไม่ว่าจะเป็น updata แบบอัตโนมัติ หรือ แบบเลือก update เองนะครับโดยวิธีการทำงานก็จะมีดังนี้นะครับ

  • เริ่มจาก เรียก function ขึ้นมาก่อนนะครับ โดย คลิกขวาที่ตัว service ที่เราต้องการ Update ข้อมูลนะครับ ตามด้วยเลือก Refactor Definition

  • พอเราคลิกที่ Refactor Definition เสร็จก็จะมี window popup ขึ้นมานะครับให้เราทำการใส่ข้อมูลลงไปนะครับ หลังจากกรอกข้อมูลเสร็จให้ทำการ คลิกที่ปุ่ม Next> เพื่อดำเนินการต่อนะครับ


  • หลังจากที่เราคลิกปุ่ม Next> แล้วก็จะมี Transfer Operations ขึ้นมาให้เราทำการตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างข้อมูลใหม่กับข้อมูลเก่านะครับ


  • หลังจากตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างข้อมูลใหม่กับข้อมูลเก่าเสร็จคลิกปุ่ม Next> จากนั้นก็จะปรากฏหน้า Refactor Schema ขึ้นมา ในส่วนของหน้านี้ก็จะมีอยุ่ 3 ส่วนหลักนะครับส่วนแรกจะเป็นส่วนของ function ทั้งหมดที่เราได้สร้างขึ้นนะครับ ส่วนที่ 2 ก็นะเป็นส่วนของการแสดงการเชื่อมต่อระหว่าง old schema กับ new schema นะครับซึ่งแต่ละ function การเชื่อมต่อก็จะต่างกัน มาถึงส่วนสุดท้าย เป็นส่วนของการแก้ไข Error ต่างๆของในแต่ละ function ครับ


  • หลังจากที่เราตรวจสอบและแก้ไขในส่วนต่างๆของ Refactor Schema มาแล้วก็จะพบกับหน้าต่างของ Update XPath Expressions นะครับ ซึ่งในส่วนนี้จะแสดงส่วนของ Old XPath และ New XPath นะครับ


เป็นอย่างไรบ้างครับในส่วนของ WSDL Refactoring ไม่มีอะไรยากเลยใช่ไหมครับ

2552-06-10

Interface View

ในหัวหัวข้อ Interface View นี้ผมจะขออธิบายเกี่ยวกับลักษณะของ Interface View นะครับว่าเป็นอย่างไร คือในส่วนของ Interface View นั้นจะทำให้เราเห็นถึงความแตกต่างระหว่าง Navigation และ Inspection ชัดเจนขึ้นนะครับ เราจะมาดูกันนะครับว่าต่างกันอย่างไร


จากรูปก็จะเห็นได้ว่าหน้าตาของ Navigation และ Inspection นั้นแตกต่างกันมากเลยนะครับ ซึ่งในส่วนของ Navigation นั้นก็จะสามารถเลือก item ต่างๆ จาก list ที่มีอยู่ ไปแสดงผลในส่วนของ Inspection ครับ

เอาละครับเป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับหัวข้อ Interface View นี้ ไม่อยากเลยใช่ไหมครับ

2552-06-08

WSDL Interfaces

WSDL Interface คือส่วนของ action ที่แสดงเป็น interface หลังจากตอนที่เราได้เพิ่มข้อมูล WSDL ไฟล์ลงไปแล้วเราจะมาทำความเข้าใจในรายละเอียดปรีกย่อยของมันในส่วนต่อไปนี้


Interface Action

ส่วนต่อไปนี้คือส่วนที่แสดงตอนเราได้ทำการ คลิกเมาท์ขวา WSDL ไฟล์





  • Show Interface Viewer : เปิดหน้าจอ interface ขึ้นมา(สามารถกดดับเบิ้ลคลิกได้)
  • Generate Code : เป็นการเรียกใช้ส่วนของ
  • Integration tools ออกมาช่วย(ต้องเข้าไปเพิ่มใน preferences)
  • Check WSI Compliance : เรียกใช้ Validation tools ขึ้นมา(ต้องเข้าไปเพิ่มใน preferences)
  • Launch TcpMon : เรียกใช้ TcpMon ขึ้นมา
  • Generate TestSuite : แปลงข้อมูลเข้าไปใน TestSuite
  • Generate MockService : แปลงข้อมูลเข้าไปใน MockService
  • Generate Documentation : แปลงข้อมูลให้เป็นเอกสาร HTML
  • Update Definition : อธิบายข้างล่าง
  • Refactor Definition : เริ่มต้นการทำ WSDL refactor definition
  • Export Definition : แปลงข้อมูลและส่งออก Definition ของตัว WSDL
  • Remove : ทำการลบข้อมูลออกจากโปรเจค
  • Online Help - แสดงหน้าตัวช่วยในอินเตอร์เน็ต


Update Definition
คือการอัพเดทข้อมูลเก่าด้วยตัวใหม่ โดยที่ข้อมูลใหม่จะเข้าไปเชื่อมโยงกับตัวเก่าทันที และการอัพเดทไม่อนุญาติให้เปลี่ยนชื่อหรือแทนที่ด้วยไฟล์ใหม่ ไม่เช่นนั้นข้อมูลเก่าจะหายทันที




โดยมีตัวเลือกดังนี้

  • Definition URL - URL ที่จะใช้ในการอัพเดท

  • Create New Requests - ถ้าข้อมูลใน WSDL มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าเลือกตัวเลือกนี้ โปรแกรมจะทำการสร้าง request ขึ้นมาใหม่

  • Recreate Requests - ทำการสร้าง requests ขึ้นมาใหม่ โดยรวมถึงการสร้าง TestRequest ที่อยู่ใน TestCases

  • Recreate Optional - ให้มีตัวเลือกในการสร้าง elements/attributes เมื่อทำการอัพเดท

  • Keep Existing - เก็บค่าเก่าไว้เมื่อทำการสร้างใหม่

  • Create Backups - สร้างไฟล์แบ็คอัพที่เกี่ยวกับ change request ขึ้นมาเมื่อทำการสร้างใหม่

  • Update TestRequests - TestRequests ทั้งหมดในโปรเจคถ้าทำการอัพเดท interface ให้ทำการอัพเดทการตั้งค่าไปด้วย

  • Open Request List - ทำการเปิดหน้าต่างใหม่หลังจากข้อมูลมีการอัพเดท Requests และ TestRequests ที่อยู่ในระหว่างการอัพเดท

2552-06-06

Project Resolving

ในหัวข้อนี้เราก็จะมาดูถึงการ แก้ไขปัญหาหลังจากการ import โปรเจคเข้ามานะครับ วิธีการทีว่าก็คือการ Resolving นั่นเอง

ปัญหานั้นจะเกิดขึ้นหลังการเราได้ทำการ import project, testsuite, testcase หรืออื่นๆนะครับ ซึ่งการ import เหล่านี้จะทำให้้ โปรแกรม SoapUI นั้นได้ทำการตรวจสอบ function การใช้งาน หรือ item ต่างๆ แบบอัตโนมัติ ซึ่งบางที่อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้น

ซึ่งการเรียกใช้ function นี้ทำได้โดยการคลิกขวาที่ ProjectName แล้วเลือก Resolve ดังรูปนะครับ


พอเลือกเสร็จก็จะปรากฏหน้าต่าง Resolve ขึ้นมานะครับ

ซึ่งในส่วนของหน้าต่างก็จะประกอบด้วย Tab ต่างๆต่อไปนี้นะครับ
  • Item - ในส่วนนี้จะเป็นการบอกชื่อ ของแต่ละ item นะครับ
  • Description- ในส่วนนี้ก็คือรายละเอียดต่างๆของ error ที่เราต้องทำการแก้ไข
  • Value - ในส่วนนี้ก็คือค่าที่เกิด error ที่เราต้องทำการแก้ไขนะครับ
  • Action - ในส่วนนี้จะเป็นการกระทำต่างๆที่เราจะต้องเลือกเพื่อแก้ไขปัญหาครับ

2552-06-04

Composite Projects

Composite Projects

เริ่มต้นด้วยคำนี้หลายๆท่านอาจจะสับสน ส่วนหลายๆท่านอาจจะไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งผมจะขออธิบายเกี่ยวกับหัวข้อนี้เลยนะครับ ดีกว่าปล่อยให้งงกันไปแบบนี้นะครับ

เริ่มจากรู้จักกับคำว่า Composite Projects เลยนะครับ Composite Projects คือลักษณะของการบันทึกโปรเจคของ soapUI ในลักษณะที่แยกบันทึก เพื่อให้มีการร่วมมีการทำงานระหว่างทีม

ซึ่งจะขออธิบายต่อเลยละกันนะครับ ว่าการบันทึกโปรเจคนั้นเป็นอย่างไร การบันทึกโปรเจคนั้นจะทำการบันทึกอยู่ใน file xml 1 file ครับ ซึ่งนี่คือข้อดูของมันนะครับเพราะว่าคุณไม่จำเป็นต้องมี file เยอะแยะให้เกิดความวุ่นวายสับสนในการเลือกพิจารณา คุณมีเพียง file xml 1 file เท่านั้นที่เก็บของมูลทั้งหมดของคุณเอาไว้ แต่เมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย เพราะ คุณมีเพียง file เดียวเพื่อในการทำงาน และหากทีม Develop ของคุณทั้งหมดทำงานพร้อมกัน จะเกิดอะไรขึ้น นี่แหละคือข้อเสียของมัน และในการแก้ไขปัญหานั้น เราจะนำ Composite Project มาช่วยแก้ไข

Composite Project นั้นคือการบันทึกโปรเจคลงใน Directory ภายใต้ชื่อของโปรเจค มันจะทำการแยก Dircectory สำหรับแต่ละส่วนไว้ครับ เช่น testsuite, mockservice, interface และอื่นๆ ซึ่งส่วนนี้จำทำให้การทำงานนั้นง่ายยิ่งขึ้นเพราะมันไม่ได้มี file เดียวอีกต่อไปแล้ว

เป็นอย่างไรบ้างครับ หายข้อสงสัยกันบ้างหรือเปล่า


2552-06-02

Encryption

วันนี้เราจะมาพูดกันถึงการ Encrytion หรือที่เรียกภาษาไทยว่า การเข้ารหัส นั่นเอง
การเข้ารหัสนั้นแบ่งออกได้ 2 แบบ คือ

1. การเข้ารหัสของ โปรเจค

ส่วนนี้จะอยู่ทางด้านล่างของ Nevigator

สังเกตว่าถ้าโปรเจคนั้นผ่านการเข้ารหัสไว้ จะแสดงเหมือนรูปตัว E

หลังจากเราเข้ารหัสเสร็จแล้วเราก็เซฟโปรเจค แล้วหลังจากที่เราออกโปรแกรมแล้วเข้าใหม่อีกครั้งมันจะขึ้นถามหรัสที่เราใส่ไว้


หลังจากใส่รหัสแล้วก็จะเข้าได้อย่างเดิม


2. การเข้ารหัสโปรแกรม
ในส่วนนี้หากเราเข้ารหัสโปรแกรมไว้(Global Setting)ตัวโปรแกรมจะทำการล็อคอัตโนมัติหลังจากเราเข้าโปรแกรมครั้งหน้า

หลังจากเปิดโปรแกรมอีกครั้ง ระบบจะให้เราใส่รหัส

ใส่รหัสให้ถูกต้อง


**ควรระวัง**ถ้าใส่รหัสผิดโปรแกรมก็จะเปิดแต่จะไม่พบโปรเจคใดๆเลย
ถ้าเราต้องการปิดรหัสโปรแกรมเราก็เข้าไปลบออกได้ใน Preferences ที่เดิม